แบบจำลองอะตอม

แบบจำลองอะตอม

แบบจำลองอะตอมยุคโบราณ
1)   แนวคิดแบบจำลองอะตอม  :  เกิดจากจินตนาการล้วนๆไม่ได้มีผลการทดลองใดๆมารองรับ
2)      แนวคิดที่เกิดขึ้น 
·    ลูชิพพุส และดิโมคริติส  กล่าวว่า  เมื่อแบ่งแยกสารออกไปเรื่อยๆ จะพบหน่วยย่อยที่เล็กที่สุดซึ่งไม่สามารถแบ่งแยกต่อไปได้อีก  และเรียกหน่วยย่อยดังกล่าวว่า  อะตอม
·    อริสโตเติ้ล  กล่าวว่า  สารใดๆสามารถแบ่งให้เล็กลงได้เรื่อยๆไม่มีที่สิ้นสุด  กล่าวคือไม่มีอะตอมนั่นเอง

วิวัฒนาการแบบจำลองอะตอมสมัยใหม่
1)      แนวคิดแบบจำลองอะตอม
1.แบบจำลองอะตอมเกิดจากจินตนาการของนักวิทยาศาสตร์ให้สอดคล้องกับผลการทดลอง
2.แบบจำลองอะตอมเปลี่ยนแปลงได้ เมื่อได้ผลการทดลองใหม่ที่ไม่สามารถอธิบายได้ด้วยแบบจำลองอะตอมเดิ 2)   การค้นพบและแบบจำลองอะตอมที่ได้  :  การทดลองและการค้นพบของนักวิทยาศาสตร์  เริ่มต้นจาก  จอห์น  ดาลตัน”  และจัดเรียงลำดับไปเรื่อยๆ  สรุปได้ดังนี้

         1. ทฤษฎีแบบจำลองอะตอมของดาลตัน  4  ข้อ
             1. ธาตุเกิดจากการรวมตัวกันของอนุภาคที่เล็กที่สุดเรียกว่า  อะตอม
             2. อะตอมของธาตุชนิดเดียวกันจะมีคุณสมบัติเหมือนกัน  และต่างจากอะตอมของธาตุอื่น
             3. สารประกอบเกิดจากจากการรวมตัวกันของอะตอมของธาตุตั้งแต่2ชนิดขึ้นไป  และมีอัตราส่วนการรวมตัวคงที่
             4. อะตอมไม่สามารถทำลายได้ด้วยวิธีทางเคมี  ไม่สามรถสร้างขึ้นใหม่  และไม่สามารถแยกย่อยออกไปได้อีก  
·      อธิบายเพิ่มเติม
-          ปัจจุบันค้นพบอนุภาคที่เล็กกว่าอะตอม  ซึ่งเป็นองค์ประกอบของอะตอม  ประกอบด้วย  อิเล็กตรอน โปรตอน  และนิวตรอน ทำให้หักล้างทฤษฎีข้อที่ 1 ได้
-          อะตอมของธาตุเดียวกันอาจมีสมบัติต่างกันได้  เช่นกรณีไอโซโทปที่ธาตุเดียวกันมีนิวตรอนไม่เท่ากัน  จึงมีมวลไม่เท่ากันด้วย  ทำให้หักล้างทฤษฎีข้อที่  2  ได้
-          อะตอม  สามารถแยกย่อยต่อไปได้อีกจากความรู้เรื่ององค์ประกอบของอะตอม  ทำให้หักล้างทฤษฎีข้อที่ 4 ได้

         2. การทดลองหลอดรังสีแคโทดของทอมสัน   

 
อธิบายการทดลอง
รังสีแคโทดเบี่ยงเบนในสนามแม่เหล็กเหมือนอนุภาคที่มีประจุลบ  จึงสรุปได้ว่ารังสีแคโทดเป็นลำอนุภาคที่มีประจุลบเคลื่อนจากแคโทดไปแอโนดและตั้งชื่อว่า  อิเล็กตรอน” 
อธิบายการทดลอง 
รังสีแคโทดเบี่ยงเบนในสนามไฟฟ้าเหมือนอนุภาคที่มีประจุลบ  จึงสรุปว่ารังสีแคโทดเป็นลำอนุภาคที่มีประจุลบ  สอดคล้องกับผลการทดลองแรก 

            3.  การทดลองละอองน้ำมันของมิลลิแกน 



อธิบายการทดลอง 
เมื่อฉีดละอองน้ำมันและยิงรังสีเอ็กซ์ใส่ละอองน้ำมันจะทำให้อิเล็กตรอนเข้าไปติดละอองน้ำมันและเมื่อละอองน้ำมันที่มีอิเล็กตรอนตกสู้สนามไฟฟ้า  จึงปรับค่าความต่างศักย์ให้หยดละอองน้ำมันหยุดนิ่งได้  แรงที่เกี่ยวข้องคือ  F₁  =  qE  และ  F₂  = mg  ซึ่งเท่ากัน  จึงทำให้ทอมสันหาค่า  q/E  ของอิเล็กตรอนได้   

            4.  การค้นพบนิวเคลียสของรัทเทอร์ฟอร์ด  




ถ้าแบบจำลองอะตอมของทอมสันถูกต้อง  เมื่อยิงอนุภาคแอลฟาไปยังแผ่นทองคำบาง ๆ นี้  อนุภาคแอลฟาควรพุ่งทะลุผ่านเป็นเส้นตรงทั้งหมดหรือเบี่ยงเบนเพียงเล็กน้อย  เพราะอนุภาคแอลฟามีประจุบวกจะเบี่ยงเบนเมื่อกระทบกับประจุบวกที่กระจายอยู่ในอะตอม  แต่แบบจำลองอะตอมของทอมสันอธิบายผลการทดลองของรัทเทอร์ฟอร์ดไม่ได้  รัทเทอร์ฟอร์ดจึงเสนอแบบจำลองอะตอมขึ้นมาใหม่ดังนี้..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/346704.....



การอธิบายโครงสร้างอะตอมด้วยแบบจำลองอะตอมของรัทเทอร์ฟอร์ด
     จากแบบจำลองอะตอมของรัทเทอร์ฟอร์ดสามารถอธิบายได้ว่า เมื่อผ่านอนุภาคแอลฟาซึ่งมีประจุบวกและมวลมากให้เดินทางเป็นเส้นตรงไปยังแผ่นทองคำ อนุภาคแอลฟาส่วนมากจะเคลื่อนที่ผ่านไปยังที่ว่างซึ่งมีอิเล็กตรอนเคลื่อนที่อยู่ แต่อิเล็กตรอนมีมวลน้อยมากจึงไม่มีผลต่อการเคลื่อนที่ของอนุภาคแอลฟา อนุภาคแอลฟาบางส่วนที่เคลื่อนที่ใกล้นิวเคลียสทำให้เบี่ยงเบนออกจากที่เดิม และอนุภาคที่กระทบกับนิวเคลียสซึ่งมีประจุบวกและมวลมากจึงสะท้อนกลับ การที่อนุภาคแอลฟาจำนวนน้อยมากสะท้อนกลับทำให้เชื่อว่านิวเคลียสมีขนาดเล็กมาก..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/346704.....

            5.  การค้นพบการจัดเรียงอิเล็กตรอนของนิวโบร์ 
นักวิทยาศาสตร์ได้พยายามศึกษาลักษณะของการจัดอิเล็กตรอนรอบๆ อะตอม โดยแบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกเป็นการศึกษษเกี่ยวกับสเปกตรัมของอะตอม ซึ่งทำให้ทราบว่าภายในอะตอมมีการจัดระดับพลังงานเป็นชั้นๆ ในแต่ละชั้นจะมีอิเล็กตรอนบรรจุอยู่ ส่วนที่สองเป็นการศึกษาเกี่ยวกับพลังงานไอโอไนเซชัน เพื่อดูว่าในแต่ละระดับพลังงานจะมีอิเล็กตรอนบรรจุอยู่ได้กี่ตัว

สเปกตรัม หมายถึง อนุกรมของแถบสีหรือเส้นที่ได้จากการผ่านพลังงานรังสีเข้าไปในสเปกโตรสโคป ซึ่งทำให้พลังงานรังสีแยกออกเป็นแถบหรือเป็นเส้น ที่มีความยาวคลื่นต่างๆเรียงลำดับกันไป

นีลส์โบร์   ได้เสนอแบบจำลองอะตอมขึ้นมา สรุปได้ดังนี้
1 . อิเล็กตรอนจะเคลื่อนที่รอบนิวเคลียสเป็นชั้นๆ ตามระดับพลังงาน  และแต่ละชั้นจะมีพลังงานเป็นค่าเฉพาะตัว
2. อิเล็กตรอนที่อยู่ใกล้นิวเคลียสมากที่สุดจะเรียกว่าระดับพลังงานต่ำสุดยิ่งอยู่ห่างจากนิวเคลียสมากขึ้น   ระดับพลังงานจะยิ่งสูงขึ้น
3. อิเล็กตรอนที่อยู่ใกล้นิวเคลียสมากที่สุดจะเรียกระดับพลังงาน  n =  1   ระดับพลังงานถัดไปเรียกระดับพลังงาน  n =2, n = 3,… ตามลำดับ   หรือเรียกเป็นชั้น   K , L , M , N  ,O ,  P , Q ….

จากทฤษฎีอะตอมของ นีลส์โบร์ แบบจำลองอะตอมมีลักษณะดังรูป
https://worawitbas.wordpress.com

          6.  แบบจำลองอะตอมแบบกลุ่มหมอก 
เนื่องจากแบบจำลองอะตอมของโบร์ ใช้อธิบายเกี่ยวกับเส้นสเปกตรัมของธาตุไฮโดรเจนได้ดี  แต่ไม่สามารถอธิบายเส้นสเปกตรัมของอะตอมที่มีหลายอิเล็กตรอนได้ จึงได้มีการศึกษาเพิ่มเติมทาง    กลศาสตร์ควอนตัม แล้วสร้างสมการสำหรับใช้คำนวณโอกาสที่จะพบอิเล็กตรอนในระดับพลังงานต่างๆ ขึ้นมาจนได้แบบจำลองใหม่      ที่เรียกว่า แบบจำลองอะตอมแบบกลุ่มหมอก





สรุปแบบจำลองอะตอมแบบกลุ่มหมอก

     1. อิเล็กตรอนไม่สามารถวิ่งรอบนิวเคลียสด้วยรัศมีที่แน่นอน  บางครั้งเข้าใกล้บางครั้งออกห่าง จึงไม่สามารถบอกตำแหน่งที่แน่นอน
ได้ แต่ถ้าบอกได้แต่เพียง  ที่พบอิเล็กตรอนตำแหน่งต่างๆภายในอะตอมและอิเล็กตรอนที่เคลื่อนที่เร็วมากจนเหมือนกับอิเล็กตรอนอยู่ทั่วไปในอะตอมลักษณะนี้เรียกว่า “กลุ่มหมอก”
      2. กลุ่มหมอกองอิเล็กตรอนในระดับพลังงานต่างๆจะมีรูปทรงต่างกันขึ้นอยู่กับจำนวนอิเล็กตรอน และระดับพลังงานอิเล็กตรอน
      3. กลุ่มหมอกที่มีอิเล็กตรอนระดับพลังงานต่ำจะอยู่ใกล้นิวเคลียสส่วนอิเล็กตรอนที่มีระดับพลังงานสูงจะอยู่ไกลนิวเคลียส
      4. อิเล็กตรอนแต่ละตัวไม่ได้อยู่ในระดับพลังงานใดพลังงานหนึ่งคงที่
      5. อะตอมมีอิเล็กตรอนหลายๆระดับพลังงาน

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้